วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น
ลักษณะที่แปรผันต่อเนื่อง เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว มที่สามารถเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมได้
ลักษณะที่แปรผันไม่ต่อเนื่อง คือเป็นลักษณะที่ได้มาทางการถ่ายทอด ยากจะเปลี่ยนแปลง(เว้นแต่ไปศัลยกรรม) เช่น มีติ่งหู ตาสองชั้น จมูกโด่ง
สารพันธุกรรมที่นำการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์จากรุ่นสู่รุ่นอยู่ในโครโมโซม
โครโมโซม(chromosome) อยู่ในนิวเคลียส มีรูปร่างเหมือนปาท่องโก๋ ในโครโมโซมมีเส้นใยโครมาตินพันขดจนเป็นโครโมโซม
เส้นใยโครมาตินเกิดจาก DNA ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ดีเอ็นเอประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ อันได้แก่ น้ำตาล หมู่เบส และหมู่ฟอสเฟต
ไนโตรจีนัสเบส ได้แก่ A อะดินีน G กัวนีน C ไซโทซีน และ T ไทมีน (A คู่กับ T และ C คู่กับ G)
การถอดรหัสพันธุกรรมจาก DNA ไปเป็น mRNA นั้นทำได้โดยวิธีการจับคู่ในหมู่เบสแบบด้านบน เพียงแต่ใน mRNA เปลี่ยน T เป็น U
เช่น ให้ DNA สายแม่แบบเป็น (DNA เริ่มอ่านจาก 3' ไป 5')
3' TAC ATT AAA GGG CCC 5'
ถอดรหัสเป็น mRNA ดังนี้
5' AUG UAA UUU CCC GGG 3'
ต่อไปเป็นการแปรรหัสให้เป็นกรดอะมิโน
ดูทีละ 3 ตัว AUG UAA UUU CCC GGG
จะได้กรดอะมิโน Met stop
หากมี stop คือหยุด ไปต่อไม่ได้แล้ว
ดังนั้นได้แค่ met (เมตไทโอนีน) เท่านั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น