วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ระบบนิเวศ ecosystem
ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อาศัยในบริเวณเดียวกัน โดยเป็นความสัมพันธ์ที่มีระบบ
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
มีชีวิต
- ผู้ผลิต พืชที่สร้างอาหารเองได้
- ผู้บริโภค สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยการบริโภคสิงมีชีวิตอื่น
แบ่งเป็น
ผู้บริโภคพืช herbivore ช้าง วัว ควาย กระต่าย
ผู้บริโภคสัตว์ carnivore เหยี่ยว เสือ สิงโต
ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ omnivore คน สุนัข ไก่
ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ scavenger ไส้เดือน ปลวก อีแร้ง
- ผู้ย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ อาศัยจากการย่อยสลายซากเป็นอาหาร
ไม่มีชีวิต
- อินทรียสาร สารที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
- อนินทรียสาร แร่ธาตุ สารอนินทรีย์
- สภาพแวดล้อม ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ขแงสิ่งมีชีวิตใน ระบบนิเวศ
1.ภาวะพึ่งพากัน mutualism ได้ประโยชน์ 2 ฝ่าย แยกจากกันไม่ได้ เช่น ไลเคน-สาหร่าย ไลเคนได้อาหารสาหร่าย ส่วนสาหร่ายรับความชื้นจากไลเคนสร้างอาหาร หรือไรโซเบียมบนรากถั่ว ปลวกและโพรโทซัว
2.ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน protocooperation ได้ประโยชน์ 2 ฝ่าย แต่แยกจากกันได้ เช่น ดอกไม้-ผีเสื้อ ผีเสื้อสามารถไปกินน้ำหวานดอกต่อๆไปที่ไม่ใช่ดอกเดิมได้ หรือนกเอี้ยงบนหลังควาย ดอกไม้ทะเลกับปูเสฉวน
3.ภาวะอิงอาศัย commensalism ฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายก็ไม่ได้ไม่เสีย เช่น ฉลาม-เหาฉลาม เหาฉลามเกาะติดฉลามกินเศษอาหาร ส่วนฉลามก็ไม่ได้ไม่เสียอะไร หรือกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่
4.ภาวะปรสิต parasitism ฝ่ายหนึ่งได้ ฝ่ายหนึ่งเสีย ปรสิตจะอาศัยในสัตว์อื่นหรือโฮสต์ เช่น พยาธิ-คน พยาธิในลำไส้คอยกินน้ำ อาหาร มนุษย์ถูกแย่งอาหาร หรือเห็บกับสุนัข
5.ภาวะล่าเหยื่อ predation ฝ่ายหนึ่งได้(ผู้ล่า) ฝ่ายหนึ่งเสีย(ผู้ถูกล่า) เช่น กบกับงู เสือกับกวาง
6.ภาวะการย่อยสลาย saprophytism ผู้ได้ประโยชน์ย่อยสลายสารอาหารจากซากสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น นกแร้งกินซากสัตว์ ราย่อยสลายซากเป็นอาหาร
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
อสมการ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
เราได้เรียนรู้เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวมาก่อนแล้ว โดยอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวก็ไม่ยาก เพียงเราทำความรู้จักกับมันเสียก่อน
อสมการ เป็นประโยคสัญลักษณ์ทีมีเครื่องหมาย >,<,>=(มากกว่า หรือเท่ากับ),<=(น้อยกว่า หรือเท่ากับ) และ ไม่เท่ากับ
คำตอบของอสมการคือ จำนวนทุกจำนวนที่นำไปแทนค่าตัวแปรแล้วทำให้เป็นจริง อสมการที่สมมูลกันต้องคำตอบเหมือนกันทุกค่า
**เมื่อนำจำนวนลบคูณ ตลอดอสมการ ต้องเปลี่ยนเครื่องหมาย > เป็น < หรือ < เป็น > คือสลับเครื่องหมายให้ตรงข้าม นั่นเอง**
ประโยคสัญลักษณ์ การเขียน
การเขียนประโยคสัญลักษณ์ในอสมการ มีดังนี้
ให้ x แทนจำนวน
1.จำนวนมีค่ามากกว่า 5 จะเขียนได้ x > 5
2.จำนวนมีค่าน้อยกว่า 5 จะเขียนได้ x < 5
*การใช้เครื่องหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ถ้าให้ประโยคภาษามาแบบนี้ จำนวนไม่น้อยกว่า.. จำนวนตั้งแต่...ขึ้นไป ถือว่าเป็น keyword ของเครื่องหมายนี้*
*การใช้เครื่องหมาย น้อยกว่าหรือเท่ากับ ถ้าให้ประโยคภาษามาแบบนี้ จำนวนตั้งแต่..ลงมา จำนวนไม่เกิน.. ถือว่าเป็น keyword ของเครื่องหมายนี้*
ส่วนเครื่องหมายน้อยกว่าอาจจะเป็น จำนวนไม่ถึง... ก็มี
ลองดูการเขียนกราฟแสดงคำตอบนะคะ เราใช้จุดทึบ ● แสดงแทนเครื่องหมายมากกว่า/น้อยกว่าหรือเท่ากับ และใช้จุดโปร่ง ○ แทนเครื่องหมายมากกว่า/น้อยกว่า เราใช้ลูกศรชี้ทางขวาแทน มากกว่า และซ้ายแทน น้อยกว่าค่ะ ส่วนไม่เท่ากับชี้ไปสองทางเลย
ทีนี้การเขียนกราฟเราจะได้ดูไปในรูปเบื้องต้นแล้ว(ถ้าในบล็อกไม่ชัดแนะนำให้ไปดูในแท็ก #primrosebsp ที่แอพพลิเคชั่นทวิตเตอร์นะคะ จะลงรูปไว้ให้ตามเรื่องเลย มีสรุปแจกในแท็กค่ะ)
โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว วิธีทำเหมือนสมการทั่วไปค่ะ ย้ายข้างบวกลบ แต่อย่าลืมเงื่อนไขที่เขียนไว้แค่นั้นเอง
1. x-7 > 45
x > 45+7 (ย้าย 7 มาเป็น -7)
x > 52 เขียนกราฟโดยใส่จุดโปร่งบน 52 แล้วชี้ลูกศรไปทางขวา
2. -7x+9 < 18
-7x < 18-9 (ย้าย 9 มาเป็น -9)
-7x < 9
x > 9/-7 (ย้ายจำนวนลบมาหารเลยเปลี่ยนเครื่องหมาย)
x > -1 2/7 (ลบหนึ่งเศษสองส่วนเจ็ด) เขียนกราฟโดยจุดโปร่งที่ -1 ค่อนไปทาง 0 ลูกศรไปทางขวา
3.6x+3 ไม่= 5x-1
6x-5x ไม่= -1-3 (ย้ายข้างตามความเหมาะสมนะคะ อันนี้ย้าย 5x มาลบแล้วย้าย 3 ไปเป็น -3)
x ไม่= -4 เขียนกราฟโดยใช้จุดโปร่งที่ -4 ลูกศรชี้สองข้าง
x > 45+7 (ย้าย 7 มาเป็น -7)
x > 52 เขียนกราฟโดยใส่จุดโปร่งบน 52 แล้วชี้ลูกศรไปทางขวา
2. -7x+9 < 18
-7x < 18-9 (ย้าย 9 มาเป็น -9)
-7x < 9
x > 9/-7 (ย้ายจำนวนลบมาหารเลยเปลี่ยนเครื่องหมาย)
x > -1 2/7 (ลบหนึ่งเศษสองส่วนเจ็ด) เขียนกราฟโดยจุดโปร่งที่ -1 ค่อนไปทาง 0 ลูกศรไปทางขวา
3.6x+3 ไม่= 5x-1
6x-5x ไม่= -1-3 (ย้ายข้างตามความเหมาะสมนะคะ อันนี้ย้าย 5x มาลบแล้วย้าย 3 ไปเป็น -3)
x ไม่= -4 เขียนกราฟโดยใช้จุดโปร่งที่ -4 ลูกศรชี้สองข้าง
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น
ลักษณะที่แปรผันต่อเนื่อง เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว มที่สามารถเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมได้
ลักษณะที่แปรผันไม่ต่อเนื่อง คือเป็นลักษณะที่ได้มาทางการถ่ายทอด ยากจะเปลี่ยนแปลง(เว้นแต่ไปศัลยกรรม) เช่น มีติ่งหู ตาสองชั้น จมูกโด่ง
สารพันธุกรรมที่นำการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์จากรุ่นสู่รุ่นอยู่ในโครโมโซม
โครโมโซม(chromosome) อยู่ในนิวเคลียส มีรูปร่างเหมือนปาท่องโก๋ ในโครโมโซมมีเส้นใยโครมาตินพันขดจนเป็นโครโมโซม
เส้นใยโครมาตินเกิดจาก DNA ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ดีเอ็นเอประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ อันได้แก่ น้ำตาล หมู่เบส และหมู่ฟอสเฟต
ไนโตรจีนัสเบส ได้แก่ A อะดินีน G กัวนีน C ไซโทซีน และ T ไทมีน (A คู่กับ T และ C คู่กับ G)
การถอดรหัสพันธุกรรมจาก DNA ไปเป็น mRNA นั้นทำได้โดยวิธีการจับคู่ในหมู่เบสแบบด้านบน เพียงแต่ใน mRNA เปลี่ยน T เป็น U
เช่น ให้ DNA สายแม่แบบเป็น (DNA เริ่มอ่านจาก 3' ไป 5')
3' TAC ATT AAA GGG CCC 5'
ถอดรหัสเป็น mRNA ดังนี้
5' AUG UAA UUU CCC GGG 3'
ต่อไปเป็นการแปรรหัสให้เป็นกรดอะมิโน
ดูทีละ 3 ตัว AUG UAA UUU CCC GGG
จะได้กรดอะมิโน Met stop
หากมี stop คือหยุด ไปต่อไม่ได้แล้ว
ดังนั้นได้แค่ met (เมตไทโอนีน) เท่านั้น
ตรีโกณมิติ Trigonomety
ตรีโกณมิติ Trigonomety
เราได้พบกับเรื่องของ "ทฤษฎีบทพีทาโกรัส" ในระดับชั้น ม.2 ไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสามเหลี่ยมมุมฉาก
ก่อนจะเริ่มศึกษาในเรื่องตรีโกณมิติ เราต้องทำความรู้จักกับ sin (ไซน์) โคไซน์(cos) และแทนเจนต์ (tan)
อัตราส่วนมีดังนี้
Sin = ข้าม/ฉาก
Cos = ชิด/ฉาก
Tan = ข้าม/ชิด
บทกลับของ Sin Cos Tan คือ Cosec (โคซีแคนต์) Sec (ซีแคนต์) และ Cot (โคแทนเจนต์) ตามลำดับ
**ซึ่ง cosec sec cot นี้ทำได้โดยการกลับเศษเป็นส่วนของ sin cos tan ตามลำดับ**
อัตราส่วนของด้านในสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่อาศัยทฤษฎีบทพีทาโกรัสซึ่งพบได้บ่อยในเรื่องนี้ คือ 5,4,3 และ 13,12,5 ซึ่งการทราบไว้ก่อนในเบื้องต้นจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาคิดอีกที หากทราบความยาวสองด้านใดๆแล้ว อย่าง 13,12 อีกด้านก็คือ 5(สามเหลี่ยมมุมฉาก)
ใน ม.3 จะศึกษากัน 3 มุมที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้คือ 30 45 60 ซึ่งมีค่าดังนี้
*sin และ cos ใดๆส่วนด้วย 2*
30 >>>
sin 1/2
cos รูท 2/2
tan 1/รูท 3
45>>>
sin รูท 2/2
cos รูท 2/2
tan 1
60>>>
sin รูท 3/2
cos 1/2
tan รูท 3
อันนี้ไว้อ่านประกอบนะคะ ^^
เราได้พบกับเรื่องของ "ทฤษฎีบทพีทาโกรัส" ในระดับชั้น ม.2 ไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสามเหลี่ยมมุมฉาก
ก่อนจะเริ่มศึกษาในเรื่องตรีโกณมิติ เราต้องทำความรู้จักกับ sin (ไซน์) โคไซน์(cos) และแทนเจนต์ (tan)
อัตราส่วนมีดังนี้
Sin = ข้าม/ฉาก
Cos = ชิด/ฉาก
Tan = ข้าม/ชิด
บทกลับของ Sin Cos Tan คือ Cosec (โคซีแคนต์) Sec (ซีแคนต์) และ Cot (โคแทนเจนต์) ตามลำดับ
**ซึ่ง cosec sec cot นี้ทำได้โดยการกลับเศษเป็นส่วนของ sin cos tan ตามลำดับ**
อัตราส่วนของด้านในสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่อาศัยทฤษฎีบทพีทาโกรัสซึ่งพบได้บ่อยในเรื่องนี้ คือ 5,4,3 และ 13,12,5 ซึ่งการทราบไว้ก่อนในเบื้องต้นจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาคิดอีกที หากทราบความยาวสองด้านใดๆแล้ว อย่าง 13,12 อีกด้านก็คือ 5(สามเหลี่ยมมุมฉาก)
ใน ม.3 จะศึกษากัน 3 มุมที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้คือ 30 45 60 ซึ่งมีค่าดังนี้
*sin และ cos ใดๆส่วนด้วย 2*
30 >>>
sin 1/2
cos รูท 2/2
tan 1/รูท 3
45>>>
sin รูท 2/2
cos รูท 2/2
tan 1
60>>>
sin รูท 3/2
cos 1/2
tan รูท 3
อันนี้ไว้อ่านประกอบนะคะ ^^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)